top of page

CONSERVATION  STATUS

สถานภาพการอนุรักษ์

5309413022_12c63551a9_o.jpg
4034402955_f36f30080e_o.jpg
4034404137_cf625b32cc_o.jpg
7812443452_c1de3b5c16_b.jpg
images.jpg
tumblr_mfi77eLezo1rxyvj1o2_400.jpg
colugo-mother-with-baby_edited.jpg
10532379274_4e95a72af4_o.jpg

IUCN หรือ International Union for Conservation of nature ได้จัดบ่างอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ หรือ Least concern แต่อย่างไรก็ตามบ่างมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณลดลงในอนาคต เนื่องจากการบุกรุกที่อยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้นปัจจุบันและการล่าเพื่อบริโภคและนำหนังมาทำเครื่องใช้

IUCN RED LIST

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์

Redlist
okapi.jpg
siau island tarsier.jpg

     บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือบัญชีแดง ถูกจัดทำขึ้นโดยสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์(IUCN) เป็นบัญชีดัชนีรายชื่อที่รวบรวมสถานภาพของสปีชีย์พืชและสัตว์ต่างๆ โดยกำหนดขึ้นจากข้อกำหนด(criteria) ที่วางไว้อย่างจำเพาะเจาะจงในการประเมินความเสี่ยง วัตถุประสงค์ของการรวบรวมดัชนีรายชื่อ ก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอันเร่งด่วนเกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์แก่สาธารณชน และผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาคมนานาชาติในการพยายามลดจำนวนการสูญพันธุ์ของสปีชีย์ต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในดัชนี

ปัจจุบันบัญชีแดงเป็นดัชนีที่มีจุดมุ่งหมายและมีหลักการที่สุดในการจัดระดับสปีชีย์ตามระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยแบ่งตามข้อกำหนดต่างๆเช่น อัตราการลดจำนวนประชากร, ขนาดประชากร, บริเวณกระจายทางภูมิภาค, อัตราการกระจายของประชากร และการแตกแยกของกลุ่มประชากร เป็นต้น โดยแบ่งได้ 9 ระดับ ดังรูป

บ่าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบได้ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าบ่างจะถูกจัดอยู่ในสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ โดยได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Least concern (IUCN)  แต่ในปัจจุบันก็พบว่าจำนวนของบ่างมีแนวโน้มที่จะลดปริมาณลงเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากการรุกล้ำป่าของมนุษย์ ทำให้ป่าไม้เขตร้อนที่เป็นที่อยู่อาศัยของบ่างลดจำนวนลงอย่างมาก และการทำการเกษตรบนผืนป่าก็ทำให้ที่อยู่ของบ่างลดน้อยลงเช่นกัน นอกจากนี้การที่บ่างสามารถอยู่ได้ในทุกสภาพป่าแม้กระทั่งตามไร่สวนต่างๆ จึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตได้ การล่าบ่างเพื่อลดความเสียหายจึงเพิ่มขึ้น

การถูกล่าโดยมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้จำนวนของบ่างลดลง การล่าบ่างส่วนใหญ่ไม่ได้หวังเนื้อของบ่าง บางที่ล่าบ่างเพื่อนำขนของมันมาทำเครื่องใช้ บางที่มีประเพณีหรือค่านิยมที่ว่าบ่างเป็นตัวนำโชคร้าย จึงเกิดการล่าบ่างขึ้น

  • s-facebook
  • Twitter Metallic

© 2023 by JOJO's REPTILE WORLD. Proudly created with Wix.com

bottom of page