



Behavior
flying lemur

ลักษณะทั่วไป
บ่าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดปานกลาง
ที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มีความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัว
ประมาณ 34-42 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 22-27
เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.8 กิโลกรัม บ่างมีขนาดใหญ่
มากเมื่อเทียบกับกระรอก มีขาเรียวยาวปานกลาง
เท่ากันทั้ง 4 ขา บ่างมีหัวขนาดเล็ก มีการมองเห็น
ที่ดีมากจากดวงตาขนาดใหญ่สีแดงทั้งสองข้าง
มีหูขนาดเล็ก ขณะเกิดลูกบ่างมีน้ำหนักตัวเพียง 35
กรัมเท่านั้น และจะอยู่กับแม่เป็นระยะเวลา 2-3 ปี



สีขนของบ่างมีความหลากหลาย ทั้งสีน้ำตาลแดง หรือเทา รวมทั้งอาจมี
ลายแต้มขาวหรือลายตาข่ายกระจายทั่วตัวได้ ตัวเมียมักมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ หางของบ่างมีลักษณะแหลมยาวมีผังผืดเชื่อมติดต่อกันทั่วตัว โดยเชื่อมระหว่างขาหน้าและขาหลัง เชื่อมขาหลังกับหาง เชื่อมระหว่างขาหน้าและคอ และระหว่างนิ้วทุกนิ้ว ซึ่งมีทั้งหมด 5 นิ้ว ไม่มีหัวแม่มือ การมีผังผืด
ระหว่างนิ้วนี้เองทำให้บ่างแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใช้การร่อนตัวอื่นๆ ผังผืดระหว่างเล็บของบ่างเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการร่อนเช่นเดียวกับค้างคาว เล็บของบ่างมีความแหลมคมใช้สำหรับเกาะไต่กิ่งไม้
![]() |
---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บ่างเป็นสัตว์ที่ขี้อาย ออกหากินตอนกลางคืน อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น ลักษณะนิสัยยังไม่ทราบแน่ชัด ชอบอยู่ตัวเดียว ยกเว้นในแม่ที่กำลังเลี้ยงลูก บ่างเป็นสัตว์กินพืช มีกระเพาะที่พัฒนาดีและลำไส้ที่ยาว ใช้ในการย่อยอาหาร
นอกจากนี้ยังมีสัตว์จำพวกอื่นที่มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับบ่างมา ได้แก่ กระรอกบิน (Flying squirrel) ที่อยู่ในเผ่า Pteromyini ของอันดับสัตว์ฟันแทะ และจิงโจ้บิน หรือ ชูการ์ไกล์เดอร์ (Petaurus breviceps) ซึ่งอยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง แม้จะมีรูปหน้าหน้าตาและพฤติกรรมคล้ายกับบ่างก็ตาม แต่กระนั้นก็ยังมีผู้เข้าใจผิดเสมอ ๆ ว่า สัตว์ทั้ง 2 จำพวกนี้เป็นบ่าง อีกทั้งในภาษาเหนือและภาษาอีสานของไทย ก็ยังเรียกกระรอกบินขนาดใหญ่ ว่า บ่าง

